ผลการดำเนินงาน SDG4.3.3
โครงการบริการวิชาการ/กิจกรรมหลักสูตรฝึกอบรมระยะสั้น
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช มีการจัดโครงการบริการวิชาการ/กิจกรรมหลักสูตรฝึกอบรมระยะสั้น ในการเพิ่มศักยภาพการทำงาน การพัฒนาความก้าวหน้าทางอาชีพ สำหรับผู้ที่สนใจทั่วไป โดยมีโครงการบริการวิชาการ/กิจกรรม ดังนี้
1. โครงการบัณฑิตพันธุ์ใหม่ และกำลังคนที่มีสมรรถนะหลักสูตรประกาศนียบัตร (non-degree) หลักสูตรนวัตกรรมการออกแบบผลิตภัณฑ์ และการตลาดดิจิทัล
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช โดยสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จัดหลักสูตรฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการในโครงการบัณฑิตพันธุ์ใหม่ หลักสูตรนวัตกรรมการออกแบบผลิตภัณฑ์และการตลาดดิจิทัล รุ่นที่ 2 ภายใต้แนวคิดจากห้องเรียนสู่ห้างบัณฑิตพันธุ์ใหม่ “คิดเป็น ทำได้ ขายจริง” โดยมีการจัดงานให้นักศึกษาในโครงการได้ลงตลาดจำหน่ายจริง ณ ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลพลาซ่า แจ้งวัฒนะ จังหวัดนนทบุรี เมื่อวันที่ 24 กันยายน 2566 ที่ผ่านมา โดยมีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จีรานุช บุดดีจีน อาจารย์ประจำสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หัวหน้าโครงการ กล่าวรายงาน และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พนมพัทธ์ สมิตานนท์ รักษาการแทนรองอธิการบดีฝ่ายทรัพยากรบุคคล วิจัย และบริหารทั่วไป เป็นประธานกล่าวเปิดงาน
ในโครงการบัณฑิตพันธุ์ใหม่หลักสูตรนี้เป็นการศึกษาในลักษณะ non degree ที่ไม่ได้เน้นการศึกษา ที่ให้ปริญญาโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อบ่มเพาะผู้เรียนให้มีความรู้ ความสามารถมีความยืดหยุ่นปรับตัวสร้างศักยภาพการทำงานพร้อมปรับเปลี่ยนตัวเอง ไปสู่ความรู้ใหม่บนฐานความรู้ทักษะต่างๆและสามารถตอบโจทย์การผลิต และธุรกิจตามนโยบายการปฏิรูปการอุดมศึกษาไทย เพื่อพัฒนายกระดับเศรษฐกิจของประเทศ ในยุคที่มีการแข่งขันสูงนี้ได้
โครงการดังกล่าว เหมาะกับผู้ต้องการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของตนเองหรือผู้ที่ต้องการอาชีพเสริมเป็นการเรียนออนไลน์ผสมผสานกับการทำกิจกรรมเวิร์คช็อป ที่ มสธ. เน้นทำจริงขายจริงซึ่งการอบรมทั้งหมดจะใช้ระยะเวลา 4 เดือนโดยรุ่นที่ 2 เริ่มตั้งแต่เดือนกรกฎาคม ถึงเดือนตุลาคม 2566 มีนักศึกษาสมัครและเข้าร่วมทั้งหมด 50 คน มีวิทยากรและผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์บรรจุภัณฑ์และการตลาดดิจิทัล มาถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ให้แก่ผู้เรียน พร้อมให้คำปรึกษาและข้อเสนอแนะในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ตลอดทั้งหลักสูตร รวมถึงผู้เรียนทุกท่านที่เข้าเรียนจะมีการทำกิจกรรมต่างๆโดยเฉพาะกิจกรรมการพัฒนาออกแบบผลิตภัณฑ์เพื่อต่อยอดการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ต่อไป
2. โครงการการพัฒนาบรรจุภัณฑ์เพื่อเพิ่มมูลค่าและการสร้างแบรนด์ในการตลาดดิจิทัลระดับสากล
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช โดยสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ละเทคโนโลยี จัดโครงการการพัฒนาบรรจุภัณฑ์เพื่อเพิ่มมูลค่าและการสร้างแบรนด์ในการตลาดดิจิทัลระดับสากลการฝึกอบรมหลักสูตรการพิมพ์ In house หลักสูตร “โรงพิมพ์สีเขียว” ซึ่งจัดอบรมในระหว่างวันที่ 30 – 31 มีนาคม 2566 ณ อาคารศูนย์ฝึกอบรมเทคโนโลยีการพิมพ์แห่งชาติ สำนักพิมพ์ มีจำนวนผู้เข้ารับการฝึกอบรม จำนวน 20 คน โดยมีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้ความรู้ ความเข้าใจการพัฒนาโรงพิมพ์สู่อนาคต (2) เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมสามารถนำเอาความรู้ ประสบการณ์ที่ได้รับจากการฝึกอบรมไปประยุกต์ ปฏิบัติงานพิมพ์อย่างมีประสิทธิภาพ เหมาะสมกับความเปลี่ยนแปลงในปัจจุบัน และในอนาคต การฝึกอบรมจะใช้วิธีการบรรยาย สาธิต และฝึกปฏิบัติ เพื่อให้ผู้ที่เข้ารับการฝึกอบรมได้เข้าใจและมีความรู้
3. โครงการการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง การพัฒนาเครือข่ายอาสาสมัครบ้านหนังสือร่วมกับเครือข่ายห้องสมุด
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช โดยสาขาวิชาศิลปศาสตร์ จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “การพัฒนาเครือข่ายอาสาสมัครบ้านหนังสือร่วมกับเครือข่ายห้องสมุดกรุงเทพมหานคร” เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2566 ณ ห้องอเนกประสงค์ ชั้น 1 หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร ร่วมกับเครือข่ายห้องสมุดกรุงเทพมหานคร การอบรมครั้งนี้ได้รับเกียรติจากนายโสภณ สุดเอียด ผู้อำนวยการส่วนห้องสมุดและการเรียนรู้ เป็นประธานในพิธีเปิดการอบรมเชิงปฏิบัติการ พร้อมกับคณาจารย์จากมหาวิทยาลัย สุโขทัยธรรมาธิราชร่วมเป็นวิทยากร เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือด้านการบริหารจัดการห้องสมุดให้กับอาสาสมัครบ้านหนังสือ และห้องสมุดเพื่อการเรียนรู้กรุงเทพฯ และเสริมสร้างความรู้ในการปฏิบัติงานของอาสาสมัครบ้านหนังสือ ร่วมกับเครือข่ายห้องสมุด ในการจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านและการเรียนรู้ พร้อมกับส่งเสริมให้เกิดชุมชนการอ่านและการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง และเพื่อสร้างให้บ้านหนังสือเป็นแหล่งการเรียนรู้แห่งใหม่ สำหรับคนในพื้นที่
กิจกรรมในครั้งนี้ แบ่งเป็น 2 ภาค ภาคเช้าเป็นหัวข้อ แนวปฏิบัติที่ดีของเครือข่ายห้องสมุดกรุงเทพมหานครและบ้านหนังสือกรุงเทพมหานคร, การพัฒนาเครือข่ายอาสาสมัครด้านบริหาร เทคโนโลยีสารสนเทศ สื่อการอ่าน และวัฒนธรรม, การพัฒนาเครือข่ายกิจกรรมเล่าเรื่องหลังการอ่าน และกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้การสร้างเครือข่ายอาสาสมัครบ้านหนังสือโดยมีรองศาสตราจารย์ ดร. น้ำทิพย์ วิภาวิน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จิรสิริ เกษมสินธ์ วิเวกเมธากร ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทรงลักษณ์ สกุลวิจิตร์สินธุ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ลักษมี นวมถนอม คีมูระ และอาจารย์ ดร.ปุณณฑรีย์ สันติสุภาพร ร่วมประจำกลุ่มกิจกรรม ภาคบ่ายเป็นหัวข้อ การพัฒนาเครือข่ายการออกแบบภูมิทัศน์รอบบ้านหนังสือและการสร้างเครือข่ายการเกษตรในเมือง โดยมีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปริชาติ ดิษฐกิจ ผู้อำนวยการสถานอุทยานการศึกษารัชมังคลาภิเษก มสธ. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.บุณฑริกา นันทา หัวหน้าคณะทำงานศูนย์เกษตรในเมือง มสธ. เข้าร่วมกลุ่มกิจกรรมในครั้งนี้ด้วย
4. หลักสูตรฝึกอบรมด้านเทคโนโลยีการพิมพ์และบรรจุภัณฑ์ “มาตรฐานการพิมพ์ในการควบคุมคุณภาพงานพิมพ์” รุ่นที่ 1/2566
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช โดยสำนักพิมพ์ จัดฝึกอบรมหลักสูตรการพิมพ์ระยะสั้น หลักสูตร “มาตรฐานการพิมพ์ในการควบคุมคุณภาพงานพิมพ์” รุ่นที่ 1/2566 ซึ่งจัดอบรมระหว่างวันที่ 20 – 21 มีนาคม 2566 ณ อาคารศูนย์ฝึกอบรมเทคโนโลยีการพิมพ์แห่งชาติ สำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช มีผู้เข้าร่วมอบรมหลักสูตรจำนวน 8 คน โดยระยะเวลาที่ฝึกอบรมทำให้ผู้เข้าฝึกอบรมมีความรู้ความเข้าใจ ด้านเนื้อหาหลักสูตร สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับงาน มีการถ่ายทอดเนื้อหา สื่อสารที่สร้างความเข้าใจให้กับ
ผู้ที่รับการฝึกอบรมเป็นอย่างดี
5. หลักสูตรการพิมพ์ In house หลักสูตร “โรงพิมพ์สีเขียว”
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช โดยสำนักพิมพ์ จัดฝึกอบรมหลักสูตรการพิมพ์ In house หลักสูตร “โรงพิมพ์สีเขียว” ซึ่งจัดอบรมในระหว่างวันที่ 30 – 31 มีนาคม 2566 ณ อาคารศูนย์ฝึกอบรมเทคโนโลยีการพิมพ์แห่งชาติ สำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช มีจำนวนผู้เข้ารับการฝึกอบรม จำนวน 20 คน โดยมีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้ความรู้ ความเข้าใจการพัฒนาโรงพิมพ์สู่อนาคต (2) เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมสามารถนำเอาความรู้ ประสบการณ์ที่ได้รับจากการฝึกอบรมไปประยุกต์ ปฏิบัติงานพิมพ์อย่างมีประสิทธิภาพ เหมาะสมกับความเปลี่ยนแปลงในปัจจุบัน และในอนาคต การฝึกอบรมจะใช้วิธีการบรรยาย สาธิต และฝึกปฏิบัติ เพื่อให้ผู้ที่เข้ารับการฝึกอบรมได้เข้าใจและมีความรู้