ผลการดำเนินงาน SDG4.3.1

แหล่งทรัพยากรทางการศึกษามหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

      มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช มีแหล่งการเรียนรู้ที่สามารถเข้าถึงการศึกษา/แหล่งความรู้สำหรับนักศึกษา คณาจารย์ และบุคคลทั่วไปที่สนใจได้อย่างเสรีโดยไม่มีค่าใช้จ่าย (Open Access) 
ซึ่งเปิดโอกาสในการเรียนรู้ได้ตลอดชีวิต ที่สอดคล้องวิสัยทัศน์ของมหาวิทยาลัย “เป็นมหาวิทยาลัยเปิดชั้นนำของโลกที่ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมการศึกษาทางไกลเพื่อสร้างโอกาสการเรียนรู้ด้วยตนเองตลอดชีวิตสำหรับทุกคน” โดยมีรายละเอียดดังนี้

1. STOU Modular

  มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช โดยสำนักการศึกษาต่อเนื่อง มีรายวิชา STOU Modular คอร์สออนไลน์ระยะสั้น แบบไม่มีค่าใช้จ่ายที่เปิดให้กับผู้สนใจทั่วไปได้ศึกษาและเพิ่มพูนความรู้ในทักษะด้านต่างๆ
ที่มีรายวิชาแล้วทั้งสิ้น จำนวน 15 หลักสูตร ดังนี้ 

  1. หลักสูตร สีสันภาษาจีน ภาคคติธรรมความเชื่อและวัฒนธรรมความเป็นอยู่
  2. หลักสูตร ผู้ดูแลผู้สูงอายุ ระดับ 1-2
  3. หลักสูตร นักพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
  4. หลักสูตร ผู้สูงวัยดิจิทัล
  5. หลักสูตร Women ICT Frontier 
  6. หลักสูตร ผู้ประกอบการสตรีชาติพันธุ์ 
  7. หลักสูตร ICTEZ เทคโนโลยีง่ายกว่าที่คิด
  8. หลักสูตร การส่งเสริมการรู้เท่าทันและเฝ้าระวังสื่อ (DIL)
  9. หลักสูตร สื่อสร้างสรรค์สังคม
  10. หลักสูตร ภาษาอังกฤษเชิงวิชาการ
  11. หลักสูตร บาลีออนไลน์
  12. หลักสูตร ภาษาจีนเพื่อการท่องเที่ยว
  13. หลักสูตร ทักษะการรู้สารสนเทศเพื่อการค้นคว้าทางวิชาการ
  14. หลักสูตร มสธ. สูงวัยใจสมาร์ท (STOU Smart Senior) 
  15. หลักสูตร การแกะสลักผัก-ผลไม้ เพื่อส่งเสริมและอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม

2. สถานีวิทยุโทรทัศน์เพื่อการศึกษา (STOU CHANNEL)

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช โดยสำนักเทคโนโลยีการศึกษา ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการกระจายเสียงหรือโทรทัศน์ สำหรับให้บริการกระจายเสียงหรือโทรทัศน์ (กิจการที่ไม่ใช้คลื่นความถี่) โดยช่องรายการใช้ชื่อว่า “STOU CHANNEL” จากสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เมื่อวันที่ 21 มกราคม พ.ศ.2556 และดำเนินการเผยแพร่รายการเพื่อการศึกษาประกอบชุดวิชา และรายการบริการวิชาการแก่สังคม เพื่อให้ความรู้แก่นักศึกษาและประชาชนทั่วไปที่สนใจออกอากาศจนถึงปัจจุบัน

3. คลังสารสนเทศดิจิทัล, แหล่งเรียนรู้สารสนเทศแบบออนไลน์, โครงการพัฒนาบทเรียนออนไลน์แบบเปิด เรื่อง ทักษะการรู้สารสนเทศเพื่อการค้นคว้าวิจัย, กิจกรรมหยิบฟรีมีให้อ่าน, โครงการการสร้าง การรับรู้และความผูกพันของสมาชิกห้องสมุด มสธ.

    มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช โดยสำนักบรรณสารสนเทศ ได้พัฒนาคลังสารสนเทศ และจัดให้มีแหล่งข้อมูล/ทรัพยากรสารสนเทศ สำหรับคณาจารย์ นักศึกษา และบุคคลทั่วไปที่สนใจ ให้สามารถเข้าถึงการศึกษา/แหล่งความรู้ได้อย่างเสรีโดยไม่มีค่าใช้จ่าย (Open Access) เปิดโอกาสในการเรียนรู้ได้ตลอดชีวิต แหล่งข้อมูลสาธารณะ (การเรียนรู้ตลอดชีวิต)
การจัดให้มีทรัพยากรที่สามารถเข้าถึงการศึกษาได้โดยไม่มีค่าใช้จ่าย มีดังนี้

3.1 คลังสารสนเทศดิจิทัล   

              3.1.1 คลังปัญญา มสธ. (STOUIR : Sukhothai Thammathirat Open University Intellectual Repository) เป็นแหล่งรวบรวมสารสนเทศดิจิทัล ทั้งวิทยานิพนธ์ ดุษฎีนิพนธ์ และการศึกษาค้นคว้าอิสระ รวมถึงบทความวารสารที่ผลิตและเผยแพร่โดยมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช โดยสารสนเทศดิจิทัลที่รวบรวมได้รับอนุญาตให้เผยแพร่จากเจ้าของผลงาน ผ่านข้อตกลงในการอนุญาตให้จัดทำและเผยแพร่ในรูปแบบสื่อดิจิทัล (http://ir.stou.ac.th/)

              3.1.2 คลังปัญญา ตำรา มสธ. เป็นฐานข้อมูลหนังสืออิเล็กทรอนิกส์สิ่งพิมพ์ มสธ. ประกอบด้วย เอกสารการสอนชุดวิชา แบบฝึกปฏิบัติชุดวิชา ประมวลสาระชุดวิชาและแนวการศึกษา ชุดวิชาฉบับพิมพ์ครั้งแรก (https://repository.stou.ac.th/handle/6625047444/2)

              3.1.3 คลังสารสนเทศดิจิทัล นนทบุรีศึกษา นำเสนอภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านนนทบุรีศึกษาการพัฒนาต้นแบบการจัดการภูมิปัญญาท้องถิ่น และการเผยแพร่สารสนเทศจากภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านนนทบุรีศึกษาแก่ชุมชน โดยการพัฒนาระบบห้องสมุดดิจิทัลด้านภูมิปัญญาท้องถิ่นนนทบุรีศึกษา รวบรวม จัดเก็บและอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นและสารสนเทศที่เกี่ยวกับจังหวัดนนทบุรี ที่เป็นตัวอักษร เสียง ภาพ และภาพกราฟิก ในรูปแบบห้องสมุดดิจิทัล (https://repository.stou.ac.th/handle/6625047444/668)

              3.1.4 คลังสารสนเทศดิจิทัล พระปกเกล้าศึกษา เป็นแหล่งรวบรวมสารสนเทศพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ประกอบด้วย พระราชประวัติ หนังสือส่วนพระองค์ และภาพถ่ายของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยสำนักบรรณสารสนเทศดำเนินการแปลง ตกแต่ง ตรวจสอบและจัดหมวดหมู่ข้อมูลและสารสนเทศที่ทรงคุณค่าและหายากให้อยู่ในรูปดิจิทัล เพื่อนำขึ้นให้บริการบนเว็บไซต์ห้องสมุด (https://repository.stou.ac.th/handle/6625047444/1353)

              3.1.5 คลังสารสนเทศดิจิทัล ศ.ดร. วิจิตร ศรีสอ้าน รวบรวมประวัติผลงานและกิตติการของศาสตราจารย์ ดร.วิจิตร ศรีสอ้าน อธิการบดีผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ซึ่งเป็นปูชนียบุคคลที่เป็นแบบอย่างและควรได้รับการยกย่องของวงการศึกษาไทย ผลงานหลากหลายรูปแบบที่ท่านได้สรรค์สร้างไว้ จึงได้มีการรวบรวมไว้อย่างเป็นระบบในรูปแบบสารสนเทศดิจิทัล เพื่อเผยแพร่ให้นักวิชาการและผู้ที่สนใจศึกษาค้นคว้า และนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อวงการการศึกษาอย่างแพร่หลายต่อไป(https://repository.stou.ac.th/handle/6625047444/939)

3.2  แหล่งเรียนรู้สารสนเทศแบบออนไลน์ 

              3.2.1 เว็บเพจ นนทบุรีศึกษา เป็นแหล่งเรียนรู้ที่ครอบคลุมสารสนเทศจากการศึกษาสภาพเครือข่ายภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านนนทบุรีศึกษา การพัฒนา ต้นแบบการจัดการภูมิปัญญาท้องถิ่นและการเผยแพร่สารสนเทศจากภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านนนทบุรีศึกษาแก่ชุมชน โดยการรวบรวม จัดเก็บและอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นและสารสนเทศที่เกี่ยวกับจังหวัดนนทบุรี ตามหลักการทางบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์อย่างเป็นระบบและได้มาตรฐาน ดําเนินการรวบรวมสารสนเทศโดยการสืบเสาะ แสวงหาสารสนเทศที่กระจายอยู่ทั่วไป ทั้งที่มีการบันทึกไว้ และจากการสัมภาษณ์ผู้รู้ ผู้เล่น ผู้เชี่ยวชาญที่เป็นปราชญ์ชาวบ้านและผู้นําท้องถิ่น แล้วนํามาคัดเลือก เรียบเรียงและพัฒนาให้เป็นสารสนเทศในรูปลักษณ์ที่เหมาะสม พร้อมทั้งพัฒนาระบบห้องสมุดดิจิทัลด้านภูมิปัญญาท้องถิ่นนนทบุรีศึกษา โดยมีวัตถุประสงค์ในการรวบรวมและจัดเก็บสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ที่เป็นตัวอักษร เสียง ภาพ และภาพกราฟิก ในรูปแบบห้องสมุดดิจิทัล โดยใช้มาตรฐานการลงรายการเมทาดาทาตามแบบแผน ผู้ใช้ทั่วไปสามารถเข้าถึงและค้นข้อมูลสารสนเทศในระบบห้องสมุดดิจิทัลผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้ตลอด 24 ชั่วโมง(https://library.stou.ac.th/nonthaburi-study)

              3.2.2 เว็บเพจ พระปกเกล้าศึกษา เป็นสาระความรู้ออนไลน์เกี่ยวกับพระราชประวัติพระราชกรณียกิจ พระราชจริยาวัตรและความสนพระราชหฤทัยในพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี ซึ่งมีการจัดทำเนื้อหาและเน้นงานออกแบบสื่อให้สวยงาม กระตุ้นความสนใจและช่วยให้เข้าใจเนื้อหาได้อย่างชัดเจน โดยเผยแพร่ในหน้าเว็บไซต์ของห้องสมุด เพื่อเป็นการเผยแพร่พระเกียรติคุณและให้ผู้สนใจได้ศึกษาค้นคว้าได้อย่างไม่มีข้อจำกัดเรื่องเวลาและสถานที่ (https://library.stou.ac.th/prajadhipok)

              3.2.3 เว็บเพจ ศ.ดร.วิจิตร ศรีสอ้าน เป็นนวัตกรรมอุดมศึกษาที่เกิดขึ้นจากแนวคิดและการดำเนินการโดยศาสตราจารย์ ดร.วิจิตร ศรีสอ้าน ที่ได้คิดสร้างสิ่งใหม่ๆ และผลักดันให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง จนส่งผลให้เกิดการพัฒนาคุณภาพการศึกษา ชีวิต และสังคมทั้งในประเทศและต่างประเทศ (https://library.stou.ac.th//wichit)

              3.2.4 ฐานข้อมูล Open Access แหล่งสารสนเทศทางวิชาการที่สามารถเข้าถึงได้อย่างเสรีและ ไม่มีค่าใช้จ่าย เป็นประโยชน์ต่อการสืบค้นข้อมูล ครอบคลุมสหสาขาวิชา โดยการใช้เนื้อหาอาจมีข้อจำกัดหรืออาจไม่มีเลย ประกอบด้วย ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์อิเล็กทรอนิกส์ ฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ และหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (https://library.stou.ac.th/open-access-database)

              3.2.5 รวมแหล่งสารสนเทศ 12 สาขาวิชา เป็นการรวบรวมแหล่งสารสนเทศทางวิชาการทางออนไลน์ของสถาบันการศึกษา/หน่วยงานต่าง ๆ ภายในประเทศและต่างประเทศจำแนกเป็น 12 สาขาวิชา สอดคล้องกับสาขาวิชาที่เปิดสอนของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช โดยแหล่งสารสนเทศนั้นจะให้สารสนเทศแบบเปิดที่ทุกคนสามารถเข้าใช้งานได้ฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย (https://library.stou.ac.th/12-sources-information)

              3.2.6 ฐานข้อมูล Library Career Guide เป็นแหล่งรวบรวมทรัพยากรสารสนเทศ                                 ในการประกอบอาชีพที่มีให้บริการในสำนักบรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ทั้งทักษะทางวิชาชีพ (Hard Skills) และทักษะทางสังคมที่ช่วยเสริมสร้างการทำงานและการอยู่ร่วมกับผู้อื่น (Soft skills) เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการเพิ่มพูนทักษะความรู้หรือผู้ที่กำลังมองหาโอกาสในการประกอบอาชีพใหม่ ๆ โดยทำการสำรวจอาชีพที่กำลังเป็นที่ต้องการในตลาดแรงงานและได้รับความสนใจทั้งในปัจจุบันและอนาคตจากเว็บไซต์ของหน่วยงานต่าง ๆ และนำมาจัดกลุ่มตามลักษณะงานพร้อมจัดทรัพยากรสารสนเทศที่ได้รวบรวมไว้จำแนกประเภทในแต่ละอาชีพ เช่น หนังสือ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ บทความ ฐานข้อมูล คลิปวีดิโอ พอดแคสต์ ฯลฯ พร้อมเชื่อมโยงเข้าสู่ฐานข้อมูลทรัพยากรห้องสมุดหรือโอแพก (OPAC) ของห้องสมุดและเว็บไซต์ต่าง ๆ      เพื่ออำนวยความสะดวกในการเข้าถึง (https://libservice.stou.ac.th/career)

              3.2.7 ฐานข้อมูล Open Access for STOU Textbooks คัดสรรทรัพยากรการเรียนรู้ในรูปของสื่ออิเล็กทรอนิกส์แบบเปิด เป็นการรวบรวมแหล่งสารสนเทศทางวิชาการประเภทฐานข้อมูลครอบคลุมสหสาขาวิชา มีเนื้อหาภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ ที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้อย่างเสรีและไม่มีค่าใช้จ่าย ประกอบด้วย ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์อิเล็กทรอนิกส์ ฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ และหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (https://libservice.stou.ac.th/open)

              3.2.8 บรรณสารพอดแคสต์  เป็นรูปแบบหนึ่งของการนำเสนอสาระความรู้ผ่านช่องทางต่างๆ  เพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ตลอดชีวิต เช่น การจัดรายการบรรณสารฯ ติดเล่า PODCAST การนำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับอัตลักษณ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช นนทบุรีศึกษา ประวัติศาสตร์ ศิลปวัฒนธรรม บุคคลสำคัญ และสาระความรู้ต่าง ๆ จากทรัพยากรสารสนเทศทั้งภายในและภายนอกห้องสมุด โดยบรรณารักษ์ห้องสมุดเป็นผู้ถ่ายทอดสาระความรู้ และกำหนดตารางการเผยแพร่เป็นประจำทุกเดือนบนช่องทาง YouTube, Facebook, Soundcloud และบทความบนเว็บไซต์ห้องสมุด ให้แก่นักศึกษาทุกระดับ บุคลากรของมหาวิทยาลัย และประชาชนทั่วไป (https://library.stou.ac.th/podcast)

              3.2.9 โครงการการให้การศึกษาแก่ผู้ใช้บริการห้องสมุดทางออนไลน์
บริการสอน/แนะนำการค้นคว้าทางวิชาการ
เป็นบริการที่ช่วยให้นักศึกษา บุคลากร และผู้รับบริการทั่วไป สามารถใช้สื่อการศึกษาและบริการห้องสมุดได้อย่างคุ้มค่าและเพิ่มทักษะการค้นคว้าทางวิชาการ โดยจัดเป็นหลักสูตร เนื้อหาประกอบด้วย การแนะนำการใช้บริการห้องสมุด การค้นสื่อการศึกษาของห้องสมุด การค้นฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ การอ้างอิงและการเขียนบรรณานุกรม การสร้างบรรณานุกรมด้วย Microsoft Wordการจัดการบรรณานุกรมด้วยโปรแกรม EndNote โปรแกรม Zotero และโปรแกรม Mendeley (https://library.stou.ac.th/library-guide/

3.3 โครงการพัฒนาบทเรียนออนไลน์แบบเปิด จัดทำบทเรียนออนไลน์ รายวิชา ทักษะการรู้สารสนเทศเพื่อการค้นคว้าทางวิชาการ เผยแพร่ทางช่องทาง YouTube ห้องสมุด มสธ. และ STOU Modular ประกอบด้วย 6 บทเรียน โดยผู้รับบริการทุกกลุ่มสามารถลงทะเบียนเรียนเพื่อส่งเสริมทักษะเรื่องต่างๆ ได้แบบไม่มีค่าใช้จ่าย ได้แก่  (https://modular.stou.ac.th/)

      บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับทักษะการรู้สารสนเทศทางวิชาการ   

      บทที่ 2 การวิเคราะห์ความต้องการสารสนเทศทางวิชาการ 

      บทที่ 3 การคัดเลือกแหล่งสารสนเทศ และทรัพยากรสารสนเทศทางวิชาการ  

      บทที่ 4 กระบวนการแสวงหาสารสนเทศทางวิชาการ  

      บทที่ 5 การประเมินค่าสารสนเทศทางวิชาการ  

      บทที่ 6 จริยธรรมในการใช้สารสนเทศทางวิชาการ 

3.4 กิจกรรมหยิบฟรีมีให้อ่าน โดยการแจกหนังสือฟรีแก่ผู้เข้าร่วมกิจกรรมในงานบรรณสาร Book Fair’ 66 วันที่ 9-10 กุมภาพันธ์ 2566 (https://library.stou.ac.th/2023/02/stou-book-fair-66/)

3.5 โครงการการสร้างการรับรู้และความผูกพันของสมาชิกห้องสมุด มสธ.                                      จัดกิจกรรมปันหนังสือ หากสมาชิกห้องสมุดหรือผู้สนใจมีหนังสือสภาพดีและอยากร่วมแบ่งปัน สามารถนำหนังสือมาร่วมได้ที่หน้าห้องสมุด มสธ. ณ อาคารบรรณสาร ซึ่งห้องสมุด มสธ.             เป็นตัวกลาง มอบแหล่งเรียนรู้ดังกล่าวสู่สังคมให้แก่เด็กและประชาชนในพื้นที จังหวัดนนทบุรี  (https://www.facebook.com/stoulibrary/photos/pb.100064528458619.-2207520000/10158397782920653/?type=3)